วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ASEAN

ASEAN



ธงและสัญลักษณ์ อาเซียน

1299385398mtm2

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Association of Southeast Asian Nations)

คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

สัญลักษณ์อาเซียน 
“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

asean
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า 
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ      ภาษาอังกฤษ



พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน       
            “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   

วัตถุประสงค์หลัก
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ   
          และองค์การระหว่างประเทศ

                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  


การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย


หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
        ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน
        
    การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้



โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
            สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
            สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
           เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว
  



กฏบัตรอาเซียน
         เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             
ThailandIndonesiaPhilippinesMalaysiaSingapore


BruneiVietnam\LaosMyanmarCambodia


วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมือง 2554

รายชื่อพรรคการเมือง2554                              
หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 6 คน
หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 13 คน
หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 11 คน
หมายเลข 6 พลังชล ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 18 คน
หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 25 คน
หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 13 คน
หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน
หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 3 คน
หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 64 คน
หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน
หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไท ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 10 คน
หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 32 คน
หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 คน
หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 30 คน
หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 24 คน
หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน
หมายเลข 23 พรรค ชาติสามัคคี ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 9 คน
หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 14 คน
หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 2 คน และ
หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 40 คน
หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน
หมายเลข 28 พรรค พลังสังคมไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และ
หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน
หมายเลข 30 พรรคมหาชน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 6 คน
ลองพรรคนี้กันหน่อยดีมะครับ เบื่อเซ็งกับพรรคหัวโจกสองพรรคใหญ่http://รักษ์สันติ.com/
เบอร์หมายเลข พรรคการเมือง เลือกตั้ง 2554

1
เพื่อไทยพรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3ประชาธิปไตยใหม่พรรคประชาธิปไตยใหม่
4ประชากรไทยพรรคประชากรไทย
5รักประเทศไทยพรรครักประเทศไทย
6
พลังชล
พรรคพลังชล
7ประชาธรรมพรรคประชาธรรม
8ดำรงไทยพรรคดำรงไทย
9พลังมวลชนพรรค พลังมวลชน
10ประชาธิปัตย์พรรคประชาธิปัตย์
11ไทยพอเพียงพรรคไทยพอเพียง
12รักษ์สันติพรรครักษ์สันติ
13ไทยเป็นสุขพรรคไทยเป็นสุข
14กิจสังคมพรรคกิจสังคม
15ไทยเป็นไทพรรคไทยเป็นไทย
16ภูมิใจไทยพรรคภูมิใจไทย
17แทนคุณแผ่นดินพรรคแทนคุณแผ่นดิน
18
เพื่อฟ้าดิน
พรรคเพื่อฟ้าดิน
19
พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20การเมืองใหม่พรรคการเมืองใหม่
21ชาติไทยพัฒนาพรรคชาติไทยพัฒนา
22เสรีนิยมพรรคเสรีนิยม
23ชาติสามัคคีพรรคชาติสามัคคี 
24บำรุงเมืองพรรคบำรุงเมือง
25กสิกรไทยพรรคกสิกรไทย
26มาตุภูมิพรรคมาตุภูมิ
27ชีวิตที่ดีกว่าพรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พลังสังคมไทยพรรคพลังสังคมไทย
29เพื่อประชาชนไทยพรรคเพื่อประชาชนไทย
30มหาชนรรคมหาชน
31ประชาชนชาวไทยพรรคประชาชนชาวไทย
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์